มอง Nokia 3310 จากมุม User Experience: มาแทงหวยกันว่าใครจะชอบ

ความสนุกของการดีไซน์เพื่อการใช้งานของมนุษย์หรือ User Experience Design นั้นอยู่ตรงที่ปรัชญาที่เราเชื่อเมื่อวานนี้ วันนี้อาจไม่จริงแล้วก็ได้ ซึ่งนั่นก็แปลว่าเรื่องที่เคยจริงวันนี้ พรุ่งนี้ก็เลยอาจจะจริงหรือไม่จริงแล้ว ก็ได้เหมือนกัน

ซึ่งที่จริงก็ไม่ต่างจากงานด้านทฤษฎีประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นงานดีไซน์หรือโมเดลธุรกิจ ฯลฯ คำตอบที่ถูกต้องที่สุดนั้นเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามปัจจุบันเพราะสิ่งที่เรากำลังทำงานให้นั้นคือ มนุษย์ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาข่าวเรื่อง Nokia 3310 สำหรับผมจึงน่าสนใจมากเพราะการติดตามข่าวนี้น่าจะให้ไอเดียเราเกี่ยวกับเรื่อง UX ในหลายด้านที่คนทำงานด้านนี้อาจจะอยากรู้เหมือนกัน

Nokia 3310 ด้านหน้า

โดยเราจะมามองเรื่องนี้กันผ่านตัวแปรหลายๆ ตัวซึ่งเคยเป็นปัจจัยความฮิตในอดีต แล้วเราก็จะลองประมาณดูว่าในศตวรรษที่ 2

1 นี้คนเปลี่ยนแนวคิดนี้ไปบ้างแล้วหรือยัง และสุดท้ายผมจะขอเก็งหวยเล่นๆ ว่าจะออกใช่หรือไม่ใช่ผ่านสองคำถามที่จะตอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ User Experience คือ

  1. คนจะยังชอบดีไซน์ Nokia 3310 มากมายเหมือนเมื่อก่อนไหม?
  2. Good UX ด้านใดบ้างที่ยังใช่สำหรับผู้ใช้? และด้านใดบ้างที่ไม่ใช่แล้ว?

ซึ่งไว้เราจะมาติดตามผลกันอีกทีว่าออกหัวหรือออกก้อย ส่วนผู้อ่านก็มาเก็งไว้ท้ายบทความก็ได้นะครับ เผื่อว่าตอนมันออกมาแล้วถ้ามันไม่ตรงกับที่ผมคิดแล้วเห็นแย้งกัน แต่คนสนใจเยอะ ถกกันจนเราได้ไอเดียที่น่าสนใจหลายๆ อย่าง ผมอาจจะแจก Nokia 3310 ให้สักคนที่แสดงความเห็นน่าสนใจไปขำๆ เพราะมันไม่ค่อยแพงน่าจะซื้อไหว ha-ha #แต่ยังไม่รับปากนะ

กลับมาที่ประเด็น ไปดูกันดีกว่าว่าประเด็นด้าน User Experience ที่อาจส่งผลกระทบต่อการกลับมาของ Nokia 3310 นั้นน่าจะมีด้านใดบ้าง โดยทั้งหมดนี้เราวิเคราะห์เฉพาะตลาดในไทยเนาะ

1. Learning Curve

ขอพูดถึงเรื่องนี้ก่อนเลยเพราะรู้สึกว่าเวลาจะเริ่มต้นเล่าให้ใครฟังเรื่อง User Experience การพูดถึงเรื่อง Learning Curve นั้นอธิบายความสำคัญของ UX ได้ค่อนข้างชัดเจน

คำว่า Learning Curve พูดให้ง่ายก็คือพฤติกรรมผู้บริโภค—หรือที่สมัยนี้เราเปลี่ยนไปเรียกกันว่า users—ซึ่งเปลี่ยนไปแล้วนั่นเอง ความน่าสนใจคือประสบการณ์หลายอย่างที่รุ่นใหม่ยังคงไว้ในแบบเดิมเหมือนเครื่องปี 2000 จะยังเป็นฟีเจอร์ที่ users ต้องการอยู่หรือไม่? หรือว่าคนเราต้องการมือถือที่แตกต่างจากเดิมไปแล้ว

ข้อนี้พิจารณา mental model ปัจจุบันของคำว่ามือถือในสายตาของมนุษย์ทั่วไป น่าจะเห็นตรงกันว่ามือถือในปัจจุบันหมายถึงสมาร์ทโฟน—ที่เครื่องมักเป็นแค่จอดำเรียบๆ มีแค่ปุ่มเปิดปิด สั่งงานได้หลากหลายรูปแบบผ่านการสัมผัส Interface ที่เป็นภาพบนหน้าจอไม่ใช่ปุ่มจริงๆ—ไม่ใช่ฟีเจอร์โฟนที่เป็นโทรศัพท์ที่เครื่องจะมีปุ่มสำหรับการใช้งานเป็นโทรศัพท์เป็นหลัก แต่ประยุกต์ใช้งานอย่างอื่นได้ด้วย

อีกประเด็นที่อยากชวนให้พิจารณาคือพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์จนถึงปัจจุบัน (กุมภาพันธ์ 2017) ที่น้ำหนักการใช้เน้นไปเรื่อง Texting หรือการส่งข้อความมากกว่าการโทรเข้าโทรออกในกลุ่มผู้ใช้งานมือถือปัจจุบันซึ่งใช้สมาร์ทโฟนเป็นมือถือ

เดาว่าจะขายดีผ่านค่ายมือถือไม่ใช่ร้านตู้

จากปรากฏการณ์ดังนี้จึงทำนายได้ว่า

  • คนที่ใช้สมาร์ทโฟนเพื่อการโทรคุยเป็นหลักในปัจจุบัน จะซื้อ
  • คนที่ใช้สมาร์ทโฟนเพื่อการ texting ตั้งแต่ SMS ไปจนถึง Facebook Messaging หรือ Line จะไม่ซื้อ
  • ฟีเจอร์การถ่ายรูปจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่ทำให้ Nokia 3310 ขายดีขึ้นในกลุ่มผู้ใช้มือถือโดยรวมในปัจจุบัน ซึ่งมีสมาร์ทโฟนที่ถ่ายรูป และถ่ายโอนรูปไปสู่อุปกรณ์อื่นได้ดีกว่าอยู่แล้ว
  • สำหรับผู้ให้บริการเครือข่าย ลูกค้าที่ควรทำการตลาดด้วยคือกลุ่มคนที่ยอดโทรรายนาทีต่อวันสูง และอาจประยุกต์แพ็คเกจแบ่งช่วงเวลาเช้าเย็น เวลางานหรือไม่เวลางาน ให้ราคาไม่เท่ากันได้ด้วย
  • และด้วยเหตุที่แพ็คเกจจะช่วยเล็งไปที่กลุ่มผู้ซื้อได้ตรงกลุ่มกว่า ขอทำนายว่าร้านตู้จะขายไม่ดีเท่าขายผ่านศูนย์ให้บริการของเครือข่าย
  • ขอพูดถึงเกมงูหรือ Snake นิดนึง #เพื่ออะไร ha-ha มันเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องรุ่นนี้เลยนะ! เกมงูหรือเกมต่างๆ ในเครื่องไม่น่าจะช่วยอะไรนะ แต่ถ้าต่อกันเล่นแบบเครือข่ายทั่วโลกได้แบบ slither.io ก็ไม่แน่นะอาจจะดังพลุแตกเลยก็ได้ แต่ก็นั่นแหละ หน้าจอขนาดนั้นไม่น่าทำได้ กับเครื่องก็เชื่อมต่อ 3G ไม่ได้อยู่แล้ว

2. Accessibility / Hardware Assistive (ความสะดวกในการสัมผัสและใช้งานตัวเครื่อง)

Wikipedia บันทึกไว้ว่า Nokia 3310 รุ่นแรกเปิดตัวในปี 2000 เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรากำลังจะได้เห็นจากการยอมรับของตลาด—ปริมาณที่ขายได้และความฮิตในระยะยาว—คือความเปลี่ยนแปลงด้านการใช้งานมือถือปี 2000 สู่สมาร์ทโฟนที่คนเขาว่าโดยรูปลักษณ์ ประสิทธิภาพ วิธีการเข้าถึง และความเก่งในการตอบสนองของอุปกรณ์น่าจะเปลี่ยนไปหลายอย่างแล้ว พิจารณาคร่าวๆ Nokia 3310 มีรูปลักษณ์ภายนอกที่แตกต่างจากอดีตประมาณนี้

ด้าน
Nokia 3310 (2000)

Nokia 3310 (2017)
รูปลักษณ์
  • จอขนาดเล็ก
  • จอขาวดำ
  • เครื่องขนาดพอดีมือ
  • จอขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย
  • จอสี
  • เครื่องขนาดพอดีมือแทบจะเหมือนเดิม
ประสิทธิภาพที่ผู้ใช้ค้นพบเอง พังยากแม้ตกบ่อย ? ไม่รู้เพราะยังไม่ได้ลอง
วิธีการเข้าถึง
  • 1-axis menu (ซ้ายขวา)
  • ปุ่ม ok
  • ปุ่ม cancel
  • ปุ่ม i/o
  • ปุ่มตัวเลข
  • 2-axis menu (บนล่างซ้ายขวา)
  • ปุ่มคำสั่ง 3 ปุ่ม เปลี่ยนคำสั่งได้ตามที่อยู่บนหน้าจอ และย้ายปุ่ม i/o มาไว้ข้างหน้ารวมกับปุ่มคำสั่ง
  • ปุ่มตัวเลข
ความเก่งในการตอบสนอง
  • ตอบสนองได้เฉพาะข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง และ SMS
  • ยังไม่รู้ประสบการณ์นี้
  • #เดา ตอบสนองได้เฉพาะข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง และ SMS น่าจะเหมือนกัน
standby
  • ยังไม่รู้ประสบการณ์นี้
  • #เดา เนื่องจากใช้ได้แค่เครือข่าย 2G จึงเดาว่าน่าจะใช้ได้หลายวันพอๆ กัน

เดาว่าน่าประทับใจเท่าเดิม ซึ่งเหมาะสมแล้ว

พิจารณาแล้วเดาว่าประสิทธิภาพของ Nokia 3310 จะคงความประทับใจเหมือนรุ่นปี 2000 ในทุกๆ ด้าน แม้แต่ด้านที่ยังไม่มีข้อสรุปอย่าง “ประสิทธิภาพที่ผู้ใช้ค้นพบเอง” แต่หากด้านนี้มีปัญหาขึ้นมาจริงๆ จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้สินค้าไม่ได้รับความนิยมเลย

แต่คิดว่า Nokia ไม่น่าพลาดเรื่องนี้ครับ จึงฟันธงว่า Good UXs ด้านนี้น่าจะได้รับคำชมจากผู้ใช้เหมือนเดิม

เดาเพิ่มเติมว่าเป็นแค่เพื่อเสริมพลังด้านการตลาด

ซึ่งดูๆ ไปก็น่าจะถูกตามความตั้งใจของ Nokia เองที่ไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นสินค้าเรือธง—แหม หมั่นไส้คำนี้จริงๆ แต่แล้ววันนึงก็ต้องใช้—แต่อยากใช้เป็นสินค้าเสริมเสน่ห์ให้กับแบรนด์ และน่าจะใช้ในเชิงมาร์เก็ตติ้งเพื่อสร้างภาพลักษณ์ซึ่งกลายเป็นไอคอนของ Nokia ไปแล้วเรื่องความถึกบึกบึนของสินค้าตัวเอง

สังเกตดูว่าคนพูดถึง Nokia 3, Nokia 5, Nokia 6 น้อยกว่า Nokia 3310 ก็ไม่ต้องแปลกใจครับเพราะสินค้าสามตัวแรกนั้นแทบจะสร้างความแตกต่างในตลาดไม่ได้เลย ตรงกันข้ามกับเจ้าตัวจิ๋วที่เป็นแค่ “One more thing” ในวันเปิดตัวเท่านั้นเอง แต่กลับกลายเป็นข่าวปากต่อปากกันเร็วชนิดไฟลามทุ่งเลยทีเดียว—ชัดเจนมากว่าหนูน้อยคนนี้เกิดมาเพราะเหตุใด

คำอธิบายการคาดเดา

  1. สมัยก่อน Nokia 3310 คือฟีเจอร์โฟนที่ความสามารถอยู่ในระดับสูงในตลาด จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับทั้งตลาด ต่างกับสมัยนี้ที่สมาร์ทโฟนมีส่วนแบ่งในตลาดกลุ่มโทรศัพท์มือถือแล้ว แต่มีความสามารถต่างจากฟีเจอร์โฟนมาก และกลายเป็นผลิตภัณฑ์หลักไปแล้ว
  2. สมมติฐานข้อนี้ดู สัดส่วนเฉพาะใน segment ตลาด feature phones ไม่ใช่นับยอดขายแล้วหารจำนวนผู้ใช้ในตลาดสมาร์ทโฟนซึ่งจะกลายเป็นการนับผู้ใช้สองกลุ่มเข้าด้วยกัน เราต้องอย่าลืมว่าปัจจุบันคำว่ากลุ่มผู้ใช้มือถือมีนิยามต่างจากเดิมไปแล้ว

3. Affordability (ราคา)

เหมือนจะมั่ว ha-ha แต่ประเด็นเรื่องราคาก็น่าจะเกี่ยวกับ User Experience ระดับหนึ่งนะผมว่า คือเห็นแล้วแหยงที่จะซื้อเลยหรือเปล่า หรือตัดสินใจซื้อได้ง่ายมาก

ข้อนี้พิจารณาจากข้อมูลในอดีตซึ่งถ้าจำไม่ผิด ปี 2000 ราคาฟีเจอร์โฟนระดับเดียวกันในยุคนั้นแพงมาก จนกระทั่งการมาถึงของ Nokia 3310 ที่ราคาปรับตัวลงมาต่ำมากจนใครๆ ก็หาซื้อได้ ประกอบกับความอึดในการใช้งานก็เป็นกระแสให้คนอยากใช้ จึงทำให้เป็นที่แพร่หลาย ตรงกันข้ามกับปัจจุบันที่ราคามือถือต่อเครื่องที่ยอมรับได้ของคนเปลี่ยนระดับมาอยู่ที่ เฉลี่ย $3xx แล้วในปัจจุบัน มือถือราคาสูงกว่าหมื่นไม่ใช่ราคาเกินเอื้อมอีกต่อไปเพราะมีปัจจัยเสริมทั้งบริการผ่อน 0% สิบเดือนและอื่นๆ อีกมากมาย

เดาว่าขายดีเหมือนเดิมแต่เฉพาะกลุ่มขึ้น

หลังจากนั่งพิจารณาข้อมูล ขอเดาว่า คนที่ยังชอบ Nokia 3310 ใหม่จะเป็นคนกลุ่มเล็กลง ด้วยการคาดเดาว่า Nokia 3310 จะมียอดขายเท่าเดิมไม่มีทางได้ แต่หากพิจารณาสัดส่วนในกลุ่ม users ที่ถูกกลุ่ม จะพบว่ายอดขายต่อจำนวนประชากรทั้งกลุ่มมีสัดส่วนคล้ายเดิม

ประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจ

  • เดาว่าราคาไม่ใช่เรื่องตื่นเต้นสำหรับผู้ใช้อีกต่อไป แต่ผู้ใช้ที่ตื่นเต้นคือผู้ใช้สมาร์ทโฟนในปัจจุบันที่จะซื้อก็ได้หรือไม่ซื้อก็ได้ และไม่ได้มีแรงจูงใจใดให้ซื้อด้วยเพราะไม่ใช่อุปกรณ์ที่จำเป็น
  • เดาว่าเหตุผลในการซื้อคือเหตุผลทางใจเพื่อระลึกความหลังเป็นประเด็นใหญ่

ทั้งหมดเป็นการคาดเดาครับเพราะไม่มีเวลาทำรีเสิร์ช กับปัจจัยที่เห็นนั้นหลายอย่างก็ไม่ต้องถึงกับรีเสิร์ชก็น่าจะพอประมาณได้คร่าวๆ ว่ามันใช่หรือไม่ใช่นะ แต่ถ้ามีใครมีมุมมองที่น่าสนใจก็มาคอมเม้นต์ก็ได้นะครับ เผื่อเราจะได้ไอเดียน่าสนใจมากขึ้น สวัสดีครับ